[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 



ประวัติตำบลห้วยแคน

ลักษณะทั่วไปและประวัติความเป็นมาของพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแคน
2.1 ข้อมูลเกี่ยวกับที่ตั้ง อาณาเขต เขตการปกครอง ประชากร ผลิตภัณฑ์มวลรวมรายได้ การศึกษา
สาธารณสุข ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และทรัพยากรธรรมชาติ
1. ที่ตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแคน ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เป็นที่ราบสูง สูงจากระดับน้ำทะเล 210 เมตร
ตั้งยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอห้วยแถลงระยะทางห่างจากอำเภอห้วยแถลง ประมาณ 7 กิโลเมตร
2. เนื้อที่อาณาเขต
เนื้อที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแคน มีทั้งหมด 28 ตารางกิโลเมตร รวมพื้นที่ทั้ง
หมดแล้ว 17,000 ไร่
อาณาเขต
ทิศเหนือ จด ตำบลตะโกและตำบลกงรถ อำเภอห้วยแถลง
ทิศใต้ จด ตำบลห้วยแถลง และจดตำบลหนองกระทิง (อำเภอลำปลายมาศ) จังหวัดบุรีรัมย์
ทิศตะวันออก จด ตำบลหนองกระทิง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
ทิศตะวันตก จด ติดตำบลห้วยห้วยแถลง อำเภอห้วยแถลง
แผนที่ตำบลห้วยแคนแสดงอาณาเขตติดต่อ


3. ภูมิประเทศ-ภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและมีลำห้วยไหลผ่านซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ พื้นที่มีความลาดเอียงไม่มีแม่น้ำไม่มีภูเขา ปัจจุบันพื้นที่เป็นป่าเสื่อมโทรมดังนั้นจึงมีการพัฒนาขุดคลองและสระ
น้ำขนาดเล็กกระจายทั่วพื้นที่ เพื่อส่งเสริมการปลูกต้นไม้และส่งเสริมการเกษตร
ลักษณะภูมิอากาศ ในองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแคนมีลักษณะอากาศ 3 ฤดู คือ มีอากาศร้อนในฤดูร้อน อากาศหนาวในฤดูหนาว และฤดูฝน ฝนตกเล็กน้อย มักจะเกิดฝนทิ้งช่วงในเดือนพฤศจิกายน – เดือนกรกฎาคม สภาพอากาศโดยรวมจะร้อนแห้งเนื่องจากป่าไม้มีน้อยซึ่งเกิดจากการตัดไม้ทำลายป่าสมัยก่อนทำให้เกิดปัญหาทางการเกษตรและผลผลิตตกต่ำ
4. จำนวนหมู่บ้าน มีทั้งหมด 8 หมู่บ้าน จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเต็มทั้ง
8 หมู่บ้าน คือ หมู่ 1 - หมู่ 8

ประชากร จำนวนประชากรทั้งหมด 4,225 คน แยกเป็น ชาย 2,161 คน หญิง 2,064 คน ความหนาแน่นเฉลี่ย 146 คน / ตารางกิโลเมตร

ประชากรแยกตามพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแคน
สถิติจำนวนประชากร ตามหลักฐานทางทะเบียนบ้านราษฎรอำเภอห้วยแถลง ณ เดือน กรกฏาคม 2551

ลำดับที่ หมู่บ้านในพื้นที่
อบต.ห้วยแคน ประชากร
( คน ) ชาย หญิง จำนวน
ครัวเรือน
1. ห้วยแคน 566 304 262 130
2. หนองแต้ 693 334 359 132
3. หัวนาคำพัฒนา 226 119 107 46
4. โนนงิ้ว 241 126 115 45
5. ตะโกพัฒนา 922 473 449 379
6. หนองบัว 504 259 245 71
7. หนองม่วง 540 278 258 114
8. ตาฮิง 537 268 269 102
รวมหมู่บ้าน 8 หมู่บ้าน 4,225 1,830 2,064 1,019

หมายเหตุ อัตราความหนาแน่นเฉลี่ย 146 คน / ตารางกิโลเมตร
อัตราความหนาแน่นเฉลี่ย 4.6 คน / ไร่


จำนวนประชากร จำนวนครัวเรือน แยกตามพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแคน


2.2 ข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพของท้องถิ่น
สภาพทางเศรษฐกิจ
1. อาชีพ
สภาพความเป็นจริง ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมซึ่งเป็นอาชีพและรายได้หลัก หลังจากฤดูเก็บเกี่ยวไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริม ส่วนมากจะอพยพไปรับจ้างในเขตเมือง นอกนั้นก็มีการปลูกผักสวนครัวบ้าง รวมทั้งทำอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่นการทอผ้าพื้นเมือง กี่กระตุก จักสาน รวมทั้งเย็บผ้าขายบางส่วน ยังไม่มีการรวมกลุ่มที่ชัดเจนและมีการเลี้ยงสัตว์เล็กน้อยและปลูกงาในช่วงฤดูแล้ง
รายได้ส่วนใหญ่เป็นรายได้จากการเกษตรกรรมและอื่น ๆ โดยแยกได้ดังนี้
- ทำการเกษตรเลี้ยงสัตว์ ประมาณ 85 %
- รับจ้าง ประมาณ 8 %
- ค้าขาย ประมาณ 4 %
- รับราชการ ประมาณ 2 %
- รายได้อื่น ๆ ประมาณ 1 %





หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแคน
- ธนาคาร - แห่ง
- โรงแรม - แห่ง
- ปั๊มน้ำมันและก๊าซ - แห่ง
- โรงงานอุตสาหกรรม - แห่ง
- โรงสีขนาดใหญ่ - แห่ง
- โรงสีขนาดกลาง 8 แห่ง
- โรงสีขนาดเล็ก 11 แห่ง
2. สภาพสังคม
การศึกษา
- โรงเรียนประถมศึกษา 2 แห่ง
- โรงเรียนมัธยมศึกษา 2 แห่ง
- โรงเรียนอาชีวศึกษา - แห่ง
- ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน / ห้องสมุดประชาชน 8 แห่ง
สถาบันและองค์กรทางศาสนา
- วัด/สำนักสงฆ์ 5 แห่ง
- มัสยิด - แห่ง
- ศาลเจ้า - แห่ง
- โบสถ์ - แห่ง
สาธารณสุข
- โรงพยาบาลของรัฐ – เตียง - แห่ง
- สถานีอนามัยประจำตำบล 1 แห่ง
- สภานพยาบาลเอกชน - แห่ง
- ร้านขายยาแผนปัจจุบัน - แห่ง
- อัตราการมีและการใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100 %
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- สถานีตำรวจ 1 แห่ง
- สถานีดับเพลิง - แห่ง

หมายเหตุ ปัจจุบัน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย ( พร้อมสายตรวจ สภอ. ห้วยแถลง ปฏิบัติหน้าที่ดูแล
ความปลอดภัยในทรัพย์สินของราษฎร )


3. การบริการพื้นฐาน
การคมนาคม เส้นทางคมนาคมที่ผ่านคือทางรถไฟและทางหลวง หมายเลข 226 สายนครราชสีมา -
บุรีรัมย์ตัดผ่านตำบลห้วยแคน การคมนาคมทางน้ำไม่มี ถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้านเป็นถนนลูกรัง , หิน
คลุกและถนนดินการคมนาคมทางบกค่อนข้างสะดวก
การโทรคมนาคม
- ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข - แห่ง
- สถานีโทรคมนาคม - แห่ง
การไฟฟ้าและการประปา
ไฟฟ้า องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแคนมีไฟฟ้าครบทุกหมู่บ้าน โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ขยายเขตโดยทั่วถึง โดยประชากรได้รับประโยชน์ 782 ครัวเรือน คิดเป็น 100 % ของประชากรทั้งหมด
การประปา มีประปาน้ำดิบและประปาบาดาลทุกหมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 99 % ของประชากรทั้งหมด
แหล่งน้ำธรรมชาติ มีลำห้วยทั้งหมด 2 สาย คือ
1. ลำห้วยแคน ยาวประมาณ 7,500 เมตร หมู่บ้านที่ได้รับประโยชน์ หมู่ 1 , 2 , 4 , 6 , 7
2. ลำห้วยโกรกน้ำฉ่า ยาวประมาณ 5,000 เมตร หมู่บ้านที่ได้รับประโยชน์ หมู่ 8 , 5, 3,
3. บึงตะโก พื้นที่ทั้งหมด 80 ไร่ ตั้งอยู่บ้านตะโกพัฒนา ได้รับการขุดลอกบางส่วน
4. หนองสะเทือน พื้นที่ทั้งหมด 15 ไร่ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบ้านตะโกพัฒนา
5. อ่างห้วยแคน พื้นที่ทั้งหมด 7 ไร่ ตั้งอยู่บ้านห้วยแคน
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- ฝาย คสล. 7 แห่ง
- ฝายดิน - แห่ง
- บ่อน้ำตื้น 2 แห่ง
- บ่อบาดาลโยก 23 แห่ง
- สระน้ำ 14 แห่ง

2.3 ส่วนอื่น ๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแคน
ทรัพยากรธรรมชาติ
- พื้นที่ป่าไม้ 170 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 10.00 % ของพื้นที่ทั้งหมด
- พื้นที่แหล่งน้ำ 397 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 4.28 % ของพื้นที่ทั้งหมด
- พื้นที่ทำการเกษตร 9,800 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 56.00 % ของพื้นที่ทั้งหมด
มวลชนจัดตั้ง
- ลูกเสือชาวบ้าน 1 รุ่น จำนวน 500 คน



ก. ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแคน
1. จำนวนบุคลากร
- สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแคน จำนวน 16 คน
- ตำแหน่งในสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 7 คน
- ตำแหน่งในส่วนการคลัง จำนวน 4 คน
- ตำแหน่งในส่วนโยธา จำนวน 2 คน
- ตำแหน่งในส่วนการศึกษา จำนวน 3 คน
- ตำแหน่งในส่วนสาธารณสุข จำนวน 1 คน
2. ระดับการศึกษา
- การประถมศึกษา 2 คน
- มัธยมศึกษา / อาชีวศึกษา 3 คน
- อนุปริญญา 2 คน
- ปริญญาตรี 8 คน
- สูงกว่าปริญญาตรี 2 คน
3. รายได้องค์การบริหารส่วนตำบล
ประจำปีงบประมาณ 2550 เป็นเงิน 9,373,757.65 บาท (31 พฤษภาคม 2551 ) แยกเป็น
รายได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลเก็บเอง จำนวน 98,767.74 บาท
รายได้ที่ส่วนราชการอื่น ๆ เก็บให้ จำนวน 3,969,129.55 บาท
รายได้เงินอุดหนุนจากรัฐบาล จำนวน 5,301,078 บาท
รายได้จากดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร จำนวน 4,782.36 บาท

ข. ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่
ศักยภาพของชุมชนองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแคน มีการพัฒนาด้านต่างๆ น้อยมาก เพราะสังคมเป็นแบบเกษตรเดิมๆ ขาดการพัฒนาเป็นแบบเทคโนโลยีอุตสาหกรรมทำให้ผลผลิตตกต่ำทุกปี อาชีพส่วนใหญ่เป็นภาคเกษตรกรรม อาชีพหลักคือการทำนา ทำไร่ ฐานะยากจนการดำรงชีวิตเป็นแบบเลี้ยงชีพ ไม่มีอาชีพเสริมจึงมีการอพยพแรงงานเข้าเมืองเป็นส่วนมากหลังฤดูเก็บเกี่ยว









เข้าชม : 2006
 
กศน.ตำบลห้วยแคน  อำเภอห้วยแถลง  จังหวัดนครราชสีมา
โทรศัพท์ 085-9815457  E-mail :
debbie46013620@hotmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.04tb    Admin