[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 

การจัดการศึกษาต่อเนื่อง
          การศึกษาต่อเนื่อง หมายถึง การจัดการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบที่เป็นหลักสูตรระยะสั้น ที่จัดตามความต้องการ ของกลุ่มเป้าหมายที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอาชีพ ทักษะชีวิตการพัฒนาสังคมและชุมชน ซึ่งรวมถึงการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการใช้เทคโนโลยี ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต
 
รูปแบบและวิธีการจัดการศึกษาต่อเนื่อง
         การจัดการศึกษาต่อเนื่อง เป็นการจัดการเรียนรู้เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายประชาชนทั่วไปทุกกลุ่มวัยได้รับ การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการ ด้านการพัฒนาอาชีพ พัฒนาทักษะชีวิตพัฒนาสังคมและชุมชน ตามหลักปรัชญาคิดเป็นและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีกรอบการจัดการศึกษาต่อเนื่อง ดังนี้

                                                      

         วิธีและการจัดการศึกษาต่อเนื่อง 4 รูปแบบ
        1. รูปแบบกลุ่มสนใจ เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนที่มีการรวมกลุ่มหรือไม่รวมกลุ่ม ดังนี้
             1.1 จัดกิจกรรมตามความต้องการและความสนใจที่มีการรวมกลุ่มกัน ของผู้เรียนตั้งแต่ 6 คนขึ้นไป หลักสูตรไม่เกิน 30 ชั่วโมง รูปแบบกลุ่มสนใจมี 2 ลักษณะ
                     1.1.1 การจัดตามความสนใจของผู้เรียนที่รวมกลุ่มตั้งแต่ ๖ คนขึ้นไป
                    1.1.2 การจัดโดยผู้เรียนสมัครเรียน ณ สถานที่จัด
             1.2 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามภารกิจ เช่น อำเภอเคลื่อนที่ จังหวัดเคลื่อนที่ ฯลฯผู้เรียนไม่มีการรวมกลุ่ม สนใจสมัครเรียน ณ สถานที่จัดกิจกรรม หลักสูตรไม่เกิน 5 ชั่วโมง
       2. รูปแบบชั้นเรียนวิชาชีพ เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลักสูตรตั้งแต่ 31 ชั่วโมงขึ้นไป ผู้เรียนตั้งแต่ 11 คนขึ้นไป
       3. รูปแบบกิจกรรมฝึกอบรมประชาชน เป็นการอบรม การศึกษาดูงานการจัดเวทีประชาคม หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่มีลักษณะเป็นการฝึกอบรม มีเนื้อหาเกี่ยวกับกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต กิจกรรมเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน การส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ มีเจตคติ และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน โดยมีโครงการและหลักสูตรที่มีช่วงระยะเวลาจัดที่แน่นอน ผู้เรียนกลุ่มละ 15 คนขึ้นไป หลักสูตร 1-3 วัน
      4. รูปแบบการเรียนรู้รายบุคคล เป็นการเรียนรู้ของผู้เรียนบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ต้องการจะเรียนรู้ในหลัก สูตรการศึกษาต่อเนื่องในสถานศึกษาหรือภาคีเครือข่าย

การพัฒนาสังคมและชุมชน
         การพัฒนาสังคมและชุมชน หมายถึง เป็นการศึกษาที่บูรณาการความรู้และทักษะจากการศึกษาที่ผู้เรียนมีอยู่หรือได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบ แล้วนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืนโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย และใช้ชุมชนเป็นฐานในการพัฒนาการเรียนรู้ของคนในชุมชน เช่น ประชาธิปไตย สิ่งแวดล้อม วิสาหกิจชุมชน การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เป็นต้น

รูปแบบการดำเนินการ
        การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน   ใช้รูปแบบกิจกรรมฝึกอบรมประชาชน เป็นการอบรม การศึกษาดูงานการจัดเวทีประชาคม หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่มีลักษณะเป็นการฝึกอบรม มีเนื้อหาบูรณาการความรู้และทักษะจากการศึกษาที่ผู้เรียนมี อยู่หรือได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบ แล้วนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืนโดยยึดหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย และใช้ชุมชนเป็นฐานในการพัฒนาการเรียนรู้ของคนในชุมชน เช่น ประชาธิปไตย สิ่งแวดล้อม วิสาหกิจชุมชน การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม  เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ มีเจตคติ และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน โดยมีโครงการและหลักสูตรที่มีช่วงระยะเวลาจัดที่แน่นอน ผู้เรียนกลุ่มละ 15 คนขึ้นไป หลักสูตร 1-3 วัน


ขั้นตอนการดำเนินงาน


                             


                  

การวัดผลและประเมินผล

       วิทยากรดาเนินการวัดและประเมินผล ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร โครงการและใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น แบบทดสอบหรือแบบสังเกต เกณฑ์การให้คะแนนชิ้นงาน ทักษะ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรอาชีพนั้นๆ



แหล่งข้อมูล      แนวทางการดาเนินงานการจัดการศึกษาต่อเนื่อง (ฉบับปรับปรุง พ.. 2561)






 
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  อำเภอพระทองคำ
ถนนปะคำ-บ้านเหลื่อม  ตำบลสระพระ  อำเภอพระทองคำ  จังหวัดนครราชสีมาโทรศัพท์ 0-4433-7331  
โทรสาร  0-4433-7331  E-mail phra_thong@korat.nfe.go.th 
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.01